ผลการไปราชการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และพลังงาน ครั้งที่ ๘ The ๘th International Science, Social Sciences, Engineering and Energy Conference (ISEEC ๒๐๑๗)
ผลการไปราชการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และพลังงาน ครั้งที่ ๘ The ๘th International Science, Social Sciences, Engineering and Energy Conference (ISEEC ๒๐๑๗) และผลการนำนักศึกษาไปราชการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการ I-SEEC ๒๐๑๗
ตามบันทึกข้อความที่ ครส. ๒๕๘/๖๐ ลงวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๐ อนุมัติ ให้นางสาวสมสิรี มนัส พร้อมด้วยนางสาวจินดาพร แก้วลายทอง นักวิจัยโครงการขยายผลเพาะพันธุ์ปัญญา เดินทางไป เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และพลังงาน ครั้งที่ ๘ The ๘th International Science, Social Science, Engineering and Energy Conference (I-SEEC ๒๐๑๗) ณ The A-ONE Royal Cruise Hotel พัทยา จ.ชลบุรี ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐ โดยให้เดินทางตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ – ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๐ นั้น และตามคำสั่งที่ ๐๕๖๑/๒๕๖๐ ให้ ผศ.ดร.ปริศนา รักบำรุง นำนักศึกษาไปราชการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ในรูปแบบ Oral Presentation ในหัวข้อเรื่อง Active Learning on Finding out Pi’s Accuracy and Precision และ Experimental Set-up for Teaching How Plant Morphology at Each Landscapes is Difference ในงานประชุมวิชาการ The ๘th International Science, Social Science, Engineering and Energy Conference (I-SEEC ๒๐๑๗) ณ The A-ONE Royal Cruise Hotel พัทยา จ.ชลบุรี
สรุปผลการไปเข้าร่วมประชุมในงานประชุมวิชาการ I-SEEC ๒๐๑๗ ดังต่อไปนี้
๑. การเข้ารับการประชุม / การอบรม/ การสัมมนา / การศึกษาดูงาน ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑.๑เพื่อเป็นเวทีในการน าเสนอผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าทางวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา ผู้เข้าร่วมประชุมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๑.๒เพื่อสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
๑.๓เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม หรือวารสารวิชาการ
ระดับนานาชาติ ที่เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของ สมศ.
๒. เนื้อหาและหัวข้อของการประชุม มีดังต่อไปนี้
Theme ที่ใช้ในการจัดประชุมวิชาการ งานในการจัดงาน คือ University Social Engagement โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย
๒.๑การบรรยายพิเศษ (keynote speaker)
Social Sciences : Emerging Knowledge of Sustainable Development. by Dr. Art-ongJumsai Na Ayudhya , Director of the Institute of SathyaSai Education, Thailand
Chief Administrator of the SathyaSai School, Thailand . Official Trainer of Teachers for the Ministry of Education in Human Values Education
๒.๒การบรรยายบทความรับเชิญ (invited speaker)
๒.๓การนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation)
๒.๔การนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์(poster presentation)
๓. ประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุม
ต่อตนเอง : .ในการนำเสนอผลงานวิจัยภาคบรรยาย (oral presentation)ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิจัยด้านการจัดการเรียนการสอน การทำวิจัยทางการศึกษาจาก คณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโท จาก Can Tho University ประเทศเวียตนาม เรื่อง Helping IELTS Learners Write Essay Introductions Under Time Pressure , รวมถึงคณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาโท จาก School of Teacher Education East China Normal University, China นำเสนองานวิจัยเรื่อง A case Study of Teaching Listening and Speaking of English to Improve Core Competence in Senior School by K.Huang
ต่อหน่วยงาน : การจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สังคมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และพลังงาน ครั้งที่ ๘ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย มุ่งเน้นในการสนับสนุนและส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของมหาวิทยาลัยและสร้างเครือข่ายความร่วมมือการวิจัยในท้องถิ่นและภูมิภาค เพื่อพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพ และใช้ผลงานวิจัยสร้างองค์ความรู้สู่การพัฒนามหาวิทยาลัยพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ เพื่อติดตามความก้าวหน้าด้านวิชาการและงานวิจัยด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์รวมทั้งไปนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในที่ประชุมวิชาการต่างๆ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ทำให้ผลงานวิจัยที่มีมาตรฐานได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
สำหรับนักศึกษาการนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมระดับนานาชาติเป็นโอกาสที่สำคัญของนักศึกษาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ นักวิจัยในสาขาวิชาเดียวกันและสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อนำความรู้ที่ได้ปรับปรุงให้เหมาะสมเพื่อการพัฒนาตนเองและการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในอนาคตให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากล
สำหรับข้าพเจ้าอ.สมสิรี มนัส อ.จินดาพรแก้ลายทอง และ ผศ.ดร.ปริศนา รักบำรุง จะนำความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ที่ได้รับในการนำนักศึกษาไปราชการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการ I-SEEC ๒๐๑๗ ในครั้งนี้ มาเพื่อพัฒนางานของหน่วยงาน คือ พัฒนาหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ และหลักสูตรสาขาวิชาอื่นๆ ให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานสากล และพัฒนาการจัดรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาคณะครุศาสตร์เป็นบุคคลที่มีความรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ในโลกยุคปัจจุบันและมีทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง ดังที่ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้แนะนำสิ่งที่ควรสอนผู้เรียน (นักเรียน นิสิต นักศึกษา) ในงานประชุมครั้งนี้กล่าวโดยสรุปได้ว่า มนุษย์ทุกคนต้องการสิ่งที่เหมือนกันซึ่งประกอบด้วย ๑.ความสงบสุข (Peace) ๒.ออกซิเจน (เพื่อการหายใจ) ๓.ชีวิตที่เรียบง่าย (Simple life) ผู้สอนต้องฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ไม่ใช่ต้องการสิ่งต่างๆไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้แม้แต่ผู้ที่มีรายได้น้อยสามรถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขได้๔.อาหารธรรมชาติ (General Product; GNP) ๕.การรู้สึกตัว หรือความรู้สึกตัว (Consciousness) คือ ภาวะปกติในการรับรู้ เข้าใจ และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นจากภายนอกร่างกาย เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทโดยเฉพาะสมองผู้สอนจึงต้องฝึกสมองผู้เรียนให้มีความรู้สึกตัว๖.แสงสว่าง (Light) เพื่อการมองเห็นและการทำกิจกรรมต่างๆ ๗.น้ำ (Water) เนื่องจากร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำ ๗๐% และ ๘.พลังงาน (Energy) เนื่องจากประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้การอุปโภคบริโภคมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน และมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตนอกโลกได้ ผู้สอนจึงควรสอนผู้เรียนให้ตระหนักรู้ และรักสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างสงบสุข ถ้าผู้เรียนไม่ตระหนักรู้และมีความคิดเชิงลบ ต้องฝึกผู้เรียนให้ตระหนักรู้และมีจิตใจที่สงบ มีสมาธิ ด้วยการ “นั่งสมาธิ”
นอกจากนี้ได้เรียนรู้จากนักวิจัยท่านอื่นว่าการเรียนรู้ในยุคปัจจุบันที่สำคัญ คือ การเรียนรู้ด้วยการทำวิจัย
นอกจากนี้ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ หลักการฟิสิกส์ เช่น ระบบรอกและเพลา และการทำงานของเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในการเข้าเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศร ดังภาพ
เขียนโดย อ.สมสิรี มนัส อ.จินดาพร แก้วลายทอง และผศ.ดร.ปริศนารักบำรุง