ข้อมูลพื้นฐานของคณะ
1.1 ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง ประวัติความเป็นมาและการเปิดสอนหลักสูตร
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่เลขที่ 272 หมู่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นคณะที่เก่าแก่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยการก่อตั้งมาพร้อมกับวิทยาลัยครู สุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2519 – 2537 ต่อมาเปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2538 – 2547 และปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2547 คณะครุศาสตร์ จึงเป็นคณะหนึ่งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตสาขาครุศาสตร์ โดยมีพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2516 | – | เริ่มตั้งวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ตามนโยบายและเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (2515 – 2519) |
พ.ศ. 2519 | – | เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกเข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) |
พ.ศ. 2521 | – | เปิดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.ชั้นสูง) |
พ.ศ. 2522 | – | เปิดรับนักศึกษาเช่นเดียวกับปี 2521 และเปิดโครงการอบรมครูและบุคลากรทาง การศึกษาประจำการ (อคป.) ในวันเสาร์ – อาทิตย์ นักศึกษา อคป. รุ่นนี้ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตเป็นรุ่นแรก |
พ.ศ. 2523 | – | เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกระดับหนึ่ง และงดรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา ส่วนการเปิดโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการในวันเสาร์ – อาทิตย์ ยังคงดำเนินการเช่นเดิม เปิด รับนักศึกษาเข้าเรียนระดับปริญญาตรีมากขึ้นตามลำดับ |
พ.ศ. 2524 – 2525 | – | เปิดศูนย์อบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ ที่วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร ในปี พ.ศ. 2525 และปีนี้เองยังเปิดสอนวิชาเอกพลศึกษาภาคปกติ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกับวิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร |
พ.ศ. 2526 – 2527 | – | เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) ภาคสมทบ
เข้าศึกษาต่ออีกพวกหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2527 เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรนี้เข้า ศึกษาในภาคปกติ |
พ.ศ. 2528
|
– | กำหนดให้วิทยาลัยจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่นได้ จึงเปิดรับนักศึกษาระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรีนอกเหนือจากสาขาครุศาสตร์ ในขณะเดียวกัน ก็งดรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพในปีนี้สภาการฝึกหัดครู ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยกลุ่มวิทยาลัยครู จึงส่งผลให้กลุ่มวิทยาลัยครูพัฒนา |
พ.ศ. 2528 (ต่อ) | เป็นสหวิทยาลัย ในภาคใต้ จึงมีสหวิทยาลัยทักษิณขึ้นประกอบด้วยวิทยาลัยครูทั้งหมดที่มีในภาคใต้ 5 แห่ง มีสำนักงานของสหวิทยาลัยในภาคใต้ อนึ่ง ในปีเดียวกันนี้ ได้เปิดรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายเข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานีเป็นรุ่นแรกอีกด้วย | |||
พ.ศ. 2529 | – | วิทยาลัยยังคงเปิดรับนักศึกษาและนักเรียนเหมือนปี 2528 แต่การดำเนินงานโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการเปลี่ยนรูปแบบเป็นการดำเนินงานตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) โดยเปิดโอกาสให้ทั้งภาครัฐและเอกชนในอาชีพต่าง ๆ นอกเหนือจากอาชีพครูเข้าศึกษาตามความต้องการ | ||
พ.ศ. 2530 – 2532 | – | วิทยาลัยยังคงรับนักศึกษาและนักเรียนเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาในส่วนของการจัดการ ศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการได้เปิดศูนย์อบรมขึ้นที่โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา
จังหวัดชุมพรอีกแห่งหนึ่ง |
||
พ.ศ. 2533 | – | การรับนักศึกษาและนักเรียนของวิทยาลัยยังคงดำเนินการเหมือนกับปีก่อน ๆ ในปีนี้ มีโครงการร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศแคนนาดา กับวิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาโปรแกรมวิชาวิทยาการจัดการมีระยะเวลา 3 ปี อนึ่ง ในปีนี้วิทยาลัยได้เปิดวิชาเอกวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาคปกติ โดยร่วมมือกับวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดชุมพรอีกด้วย | ||
พ.ศ. 2534 | – | วิทยาลัยครูสุราษฎร์ธานี ยังคงเปิดรับนักศึกษาและนักเรียนเข้าเรียนเช่นเดียวกับ ปีก่อน ๆ ส่วนการดำเนินงานการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการนั้น มี ศูนย์ อบรมที่โรงเรียนสะอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร และได้เปลี่ยนไปดำเนินการ ที่โรงเรียนศรียาภัย ซึ่งในปีนี้วิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศรัฐบาลญี่ปุ่น (ไจก้า) จัดโครงการทดลองจัดตั้งศูนย์ศึกษาประจำภูมิภาคขึ้นที่วิทยาลัยเพื่อพัฒนาอาจารย์ของสหวิทยาลัยทักษิณด้านเคมีและคอมพิวเตอร์ | ||
พ.ศ. 2535 | – | การรับนักศึกษาและนักเรียนยังคงเปิดรับเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาและ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูว่า “สถาบันราชภัฏ” | ||
พ.ศ. 2538 | – | มีประกาศใช้ประราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 และสถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ได้ดำเนินการภารกิจตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 โดยสถาบันยังคงเปิดรับนักศึกษาและนักเรียนเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา |
||
พ.ศ. 2539 – 2541 | – | สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เปิดรับนักศึกษาตามปกติและเนื่องจากสถาบันมีนโยบายที่จะขยายฐานการศึกษาจากระดับปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาโท ประกอบ กับแนวการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเปลี่ยนไป สถาบันจึงงดรับนักเรียนสาธิตใน ปีการศึกษา 2540 | ||
พ.ศ. 2542 | – | สถาบันได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยและเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทเป็นครั้งแรก โดยเปิดสอนครุศาสตร์มหาบัณฑิตในสาขาการบริหารการศึกษา | ||
พ.ศ. 2543 | – | สถาบันได้เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีตามปกติ โดยขยายสาขาและปริมาณ การรับมากขึ้นทั้งภาคปกติและภาคสมทบ และได้ปรับปรุงโครงการ กศ.บป. เป็นโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรท้องถิ่น (กศ.บท.) เพื่อเปิดรับบุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัดอาชีพและได้ขยายเปิดศูนย์ให้การศึกษานอกสถาบัน จากที่มี 1 แห่ง คือ ศูนย์ชุมพร ไปยังจังหวัดระนองอีก 1 แห่ง | ||
พ.ศ. 2545 – 2546 | – | สถาบันได้เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีมากขึ้น และขยายการศึกษาสำหรับบุคลากรท้องถิ่น กศ.บท. พ.ศ. 2546 สถาบันได้มีการพัฒนาเพื่อเตรียมการเป็นมหาวิทยาลัยโดยสมบูรณ์ ทั้งในส่วนของการขยายฐานการจัดการศึกษาเพิ่มขึ้นอีกหลายสาขา ทั้งระดับปริญญาตรีภาคปกติและภาค กศ.บท. | ||
พ.ศ. 2547 | – | เปิดรับนักศึกษาตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของคณะในด้านหลักสูตรและกระบวนการการจัดการเรียนการสอน | ||
พ.ศ. 2548 – 2552 | – | เปิดรับนักศึกษาตามโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) อย่างต่อเนื่องและทำคำรับรองปฏิบัติการราชการ ประจำปีงบประมาณ 2548
ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของคณะในการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน |
||
พ.ศ. 2549 | – | สถาบันฯ ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2549 คณะครุศาสตร์ได้ดำเนินการภารกิจโดยเฉพาะการผลิต บัณฑิตครูระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต –
วิชาชีพครู |
||
พ.ศ. 2553 | – | คณะครุศาสตร์เปิดสถาบันพัฒนาครูและทรัพยากรมนุษย์ ในวันที่ 27 เมษายน 2553 เพื่อบริการวิชาการให้แก่สังคมอย่างเต็มรูปแบบ | ||
พ.ศ. 2553 – 2554 | –
|
พัฒนาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาภาวะผู้นำการจัดการศึกษาและเปิดรับนักศึกษา
รุ่นแรก ภาคเรียนที่ 1/2553 |
||
– | ปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) จำนวน 7 หลักสูตร ได้แก่ | |||
1. หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
2. หลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 3. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 4. หลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา |
5. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย
6. หลักสูตรสาขาวิชาศิลปกรรม 7. หลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
|||
พ.ศ. 2555 | – | เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา รุ่นที่ 3
ภาคเรียนที่ 1/2555 |
||
พ.ศ. 2555 (ต่อ) | –
|
เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาภาวะผู้นำการจัดการศึกษา รุ่นที่ 3
ภาคเรียนที่ 1/2555 |
||
– | ปรับปรุงวิธีการรับนักศึกษาเข้าเรียนภาคปกติโดยใช้ระบบโควต้า Road show และการสอบทั่วไป โดยการกำหนดเกรดเฉลี่ย คะแนนวัดแววครู สอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ นอกจากนั้น ยังมีการวางแผนการรับนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ บัณฑิตให้มีความเป็นเลิศตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ มีประสบการณ์วิชาชีพและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพครู | |||
– | 25 มีนาคม 2555 จัดตั้งหน่วยพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้ง
ให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ |
|||
– | หลักสูตรที่ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ผ่านความเห็นชอบจากคุรุสภา และ สกอ. | |||
พ.ศ. 2556 | – | เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 เป็นปีแรกในภาคเรียนที่ 1/2556 จำนวน 7 หลักสูตร และเปิดหลักสูตรใหม่ จำนวน 1 หลักสูตร | ||
– | ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู สาขาวิชาชีพครู พ.ศ. 2556
เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556 เป็นปีแรกในภาคเรียนที่ 1/2556 |
|||
พ.ศ.2557 – ปัจจุบัน | – | เปิดสอนในระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) | ||
– | เปิดสอนระดับปริญญาตรี จำนวน 8 หลักสูตรสาขาวิชา ได้แก่ | |||
1. หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
2. หลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์ 3. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษ 4. หลักสูตรสาขาวิชาสังคมศึกษา |
5. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย
6. หลักสูตรสาขาวิชาศิลปศึกษา 7. หลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 8. หลักสูตรสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ |
|||
– | เปิดสอนระดับปริญญาโท จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ | |||
1. การบริหารการศึกษา
2. การสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ 3. หลักสูตรและการสอน |
||||