ศูนย์สะเต็มศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

ศูนย์สะเต็มศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

 

ศูนย์สะเต็มศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

——————————————————————————————–

รู้จักกับศูนย์สะเต็มศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี

ตามที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสะเต็มศึกษา (STEM Education University Network) เมื่อวันที่ 18-19 กันยายน 2558 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท 11 กรุงเทพฯ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บรรจง  เจริญสุข และ ดร.อาทิตยา  จิตร์เอื้อเฟื้อ เข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวและมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมลงนามเป็นมหาวิทยาลัยเครือข่ายสะเต็มศึกษารวมทั้งสิ้น 25 แห่งทั่วประเทศ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ร่วมกับ สสวท. จัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาในมหาวิทยาลัย มีพันธกิจร่วมกัน 3 ปี โดยมีวัตถุเพื่อ

1.       ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้กับโรงเรียนทุกสังกัดในแต่ละท้องถิ่น

2.       พัฒนาศักยภาพครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งในด้านเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางให้โรงเรียนทุกสังกัดในแต่ละท้องถิ่น

3.       เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเครือข่ายสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการแก่ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ และครูพี่เลี้ยงวิชาการ ในโรงเรียนทุกสังกัดในแต่ละท้องถิ่น

4.       เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สสวท. กับ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา และผู้ประกอบการในแต่ละท้องถิ่นอันจะนำมาซึ่งการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสะเต็มศึกษาในโรงเรียนทุกสังกัดในแต่ละท้องถิ่น

          สำหรับแผนการดำเนินงานของศูนย์สะเต็มศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการออกเป็น 4 ระยะ ในระยะที่ 1 ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษา ประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการที่ปรึกษา และคณะกรรมการดำเนินงานระยะที่ 2 ส่งบุคลากรมหาวิทยาลัยเครือข่ายสะเต็มศึกษาเข้ารับการอบรมพัฒนาเพื่อคัดเลือกเป็นวิทยากรท้องถิ่น (Local Trainer) ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย

1. ดร.อาทิตยา  จิตร์เอื้อเฟื้อตัวแทนสาขาวิทยาศาสตร์

2. ดร. ธัญญากาศรุณตัวแทนสาขาคณิตศาสตร์

3. ผศ.อัญชลีพร  มั่นคง ตัวแทนสาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

4. .กานต์ธิดา  บุญมา ตัวแทนสาขาฟิสิกส์ และ การจัดการภัยพิบัติ

ในระยะที่ 3 จัดพิธีเปิดศูนย์สะเต็มศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและจัดอบรมขยายผลครูสะเต็มศึกษาตามพันธกิจ และในระยะที่ 4 รายงานผลการดำเนินการซึ่งถือเอาวันที่ 23 กรกฎาคม 2559เป็นวันก่อตั้งศูนย์สะเต็มศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ความสำคัญของการศึกษาในระบบ STEM Education เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยมีรูปแบบการเรียนการสอนที่สนุกสำหรับนักเรียน และมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพในอนาคต STEM Education ช่วยสร้างกำลังคนที่มีทักษะการคิด การแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้นจึงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะด้านนวัตกรรม และเป็นกลไกสำคัญในการช่วยยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่ระดับรายได้สูงที่ได้รับการขับเคลื่อนจากนวัตกรรมใหม่ๆ ในระยะยาว

 

สะเต็มศึกษาคืออะไร

สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

             การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่

             (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ

             (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ 

             (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 

             (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน 

             (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา 

             จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน 

ระดับการบูรณาการที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเรียนสะเต็มศึกษาสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ การบูรณาการภายในวิชา (disciplinary), การบูรณาการแบบพหุวิทยากร (multidisciplinary integration), การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary integration) และ การยูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา (transdisciplinary integration) ดังแสดงในรูป

transdisciplinary integration) ดังแสดงในรูป

 

การบูรณาการภายในวิชา คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของแต่ละวิชาของสะเต็มแยกกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้คือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เป็นอยู่ทั่วไปที่ครูผู้สอนแต่ละวิชาต่างจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามรายวิชาของตนเอง

               การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของวิชาของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์แยกกัน โดยมีหัวข้อหลัก (theme) ที่ครูทุกวิชากำหนดร่วมกัน และมีการอ้างอิงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิชานั้นๆ การจัดการเรียนรู้แบบนี้ช่วยให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาในวิชาต่างๆ กับสิ่งที่อยู่รอบตัว  

               การบูรณาการแบบสหวิทยาการ  คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะอย่างน้อย 2 วิชาร่วมกันโดยกิจกรรมมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทุกวิชาเพื่อให้นักเรียนได้เห็นความสอดคล้องกัน ในการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ครูผู้สอนในวิชาที่เกี่ยวข้องต้องทำงานร่วมกันโดยพิจารณาเนื้อหาหรือตัวชี้วัดที่ตรงกันและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเองโดยให้เชื่อมโยงกับวิชาอื่นผ่านเนื้อหาหรือตัวชี้วัดนั้น 

               การบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา  คือ การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยนักเรียนเชื่อมโยงความรู้และทักษะที่เรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์กับชีวิตจริง โดยนักเรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะเหล่านั้นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนหรือสังคม และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเอง ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจหรือปัญหาของนักเรียน โดยครูอาจกำหนดกรอบหรือ theme ของปัญหากว้างๆ ให้นักเรียนและให้นักเรียนระบุปัญหาที่เฉพาะเจาะจงและวิธีการแก้ปัญหาเอง ทั้งนี้ ในการกำหนดกรอบของปัญหาให้นักเรียนศึกษานั้น ครูต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยกับการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่  (1) ปัญหาหรือคำถามที่นักเรียนสนใจ  (2) ตัวชี้วัดในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (3) ความรู้เดิมของนักเรียน  การจัดการเรียนรู้แบบ problem/ project-based learning เป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ (instructional strategies) ที่มีแนวทางใกล้เคียงกับแนวทางบูรณาแบบนี้  

เอกสารอ้างอิง

·         National Research Council, 2012. A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.

·         Vasquez, J.A., Sneider, C., and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann.

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสาร

–  เอกสารศูนย์สะเต็มศึกษาและโรงเรียนเครือข่าย…

–  http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/03/newIntro-to-STEM.pdf.pdf