โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น) ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ทางสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการมาเป็นจำนวน 2 รุ่นแล้ว (รุ่นที่ 1 จำนวน 29 คน/รุ่นที่ 2 จำนวน 22 คน) โดยนักศึกษาผู้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนทุนแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าที่พัก ค่าครองชีพ และค่าตำรา และอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น ในการศึกษาระดับปริญญาตรีจนสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด เพื่อกลับไปบรรจุเป็นข้าราชการครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นภูมิลำเนาของผู้รับทุน ปฏิบัติหน้าที่จัดการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน รวมถึงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
-
เป้าประสงค์ของโครงการ
การดำเนินงานโครงการนี้มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักเรียนยากจนที่มีศักยภาพ และมี จิตวิญญาณความเป็นครู ได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะครุศาสตร์ /คณะศึกษาศาสตร์ อย่างมีคุณภาพภายในระยะเวลา ๔ ปี มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลระดับตำบลประมาณ ๓๐๐ แห่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาของท้องถิ่น เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และช่วยให้มีจำนวนครูเพียงพอต่อความต้องการลดปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียนหรือมีการโยกย้ายบ่อย รวมถึงเป็นการสนับสนุนให้สถาบันผลิตและพัฒนาครูออกแบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนบทบาทของครูในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาให้สามารถผลิตและพัฒนาครู ได้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่และความต้องการโดยรวมของประเทศ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นตามเป้าประสงค์นี้จะสามารถนำไปสู่การยกระดับคุณภาพและระบบการศึกษาของประเทศได้
-
วัตถุประสงค์ของโครงการ
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ดำเนินโครงการเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่ที่มีคุณลักษณะตรงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และบรรจุครูในพื้นที่ได้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
2. เพื่อบูรณาการให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนาครูกับหน่วยงานที่ใช้ครู ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือก การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนาทักษะวิชาชีพครู และการฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียนและชุมชนตั้งแต่ต้นทางไปพร้อมกัน
3. เพื่อปรับระบบการผลิตและพัฒนาครู ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างที่จำเป็นให้ตรงกับลักษณะงาน มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล
-
การสนับสนุนทุน ดังรายการต่อไปนี้