นโยบายของคณะครุศาสตร์
นโยบาย/วิสัยทัศน์ที่คณบดีนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย
การบริหารคณะครุศาสตร์ใน 4 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2564 – 2567) ให้บรรลุวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์นวัตกรรม การเรียนรู้ ผลิตและพัฒนาครูคุณภาพ บนฐานครุศึกษาสู่ท้องถิ่น” ผ่านยุทธศาสตร์ C for P (Strategies C for P) หรือ C4P เพื่อแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน ประกอบด้วย 1. C-Creating 2. P1-Producing 3. P2-Providing 4. P3-Preserving 5. P4-Promoting มีรายละเอียดดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1: การสร้างองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของท้องถิ่น
C-Creating and developing a body of knowledge and innovation for local learning
หัวใจหลักของการบริหารและการบูรณาการความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมกับภารกิจต่างๆ ทั้งการผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการศึกษา การบริการวิชาการด้าน
ครุศึกษา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และการบริหารจัดการที่ดีและมีธรรมาภิบาล การดำเนินงานต้องสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในการขับเคลื่อนงานต่างๆ ตลอดจนมีการวิจัยในรูปแบบต่างๆ การพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี (sand box) การพัฒนาการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลที่สอดคล้องกับนโยบาย ของมหาวิทยาลัย และนโยบายของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: การผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการศึกษาในท้องถิ่นที่มีคุณภาพ
P1-Producing quality teacher education graduates and preparing in-service teachers and education personnel to serve the local area
การผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพให้ถึงพร้อมด้วยความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู พัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยตามความต้องการ ของท้องถิ่น บัณฑิตสามารถสร้างสรรค์การเรียนรู้ และการทำงานได้อย่างเข้มแข็งไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ มีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมของชุมชนผ่านโครงการวิศวกรการศึกษา ตลอดจนการเป็นครูนักเทคโนโลยี สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในดิจิทัลในการการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน มีทักษะภาษาและทักษะดิจิทัล รู้เท่าทัน และก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และสร้างแหล่งฝึกวิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การบริการวิชาการด้านครุศึกษาสู่สังคม
P2-Providing academic services in teacher education to the community
สถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย สร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรระยะสั้น (up skill, re skill, new skill, add skill) MOU ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น สพม. สพป. กศจ. เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วขององค์ความรู้และเทคโนโลยี ตลอดถึงการพัฒนา กำลังคนเพื่อการปฏิรูปประเทศ (Big Rock) ในพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
P3-Preserving art, culture, and Thainess on the basis of teacher Professionalism
สร้างความตระหนักในความเป็นไทย วิถีชีวิตแบบไทย เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การสร้างเครือข่ายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยบนฐานวิชาชีพครู อนุรักษ์ ธำรง รักษา สืบสาน ต่อยอดครูศิลปินภาคใต้ เน้นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยแบบมีส่วนร่วมของคนในองค์และท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5: การบริหารจัดการที่ดีและมีธรรมาภิบาล
P4-Promoting effective and efficient management with good governance
ส่งเสริมความรักความผูกพันและสามัคคีในองค์กร พัฒนา Digital EDU การทำงานผ่านระบบดิจิทัล สำหรับนักศึกษาและบุคลากร พัฒนาและส่งเสริมสมาคมศิษย์เก่า มีระบบ e-donation, สร้างสรรค์ สโมสร คณะครุศาสตร์แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน พัฒนาแอปพลิเคชั่น EDU on mobile สารสนเทศเพื่อหารบริหารจัดการ การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและดำเนินงานตามแผน การพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาคณะ และสอดคล้องกับการดำเนินการของสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ