คณะครุศาสตร์จัด โครงการจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการผลิตบัณฑิต ระหว่างวันที่ 6 – 8 มิถุนายน 2561
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบรรลุเป้าหมายของงานการพัฒนาคน และการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการจัดการให้มีการค้นพบ ความรู้ความชำนาญที่แฝงเร้นในตัวคน แล้วนำออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ง่ายต่อการใช้สอยมีประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อยอดใช้ได้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและมีความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมเกิดขึ้น จากการเอาความรู้ที่หลากหลายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งหลักสำคัญของการจัดการความรู้ คือ กระบวนการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างคน ในการดำเนินการจัดการความรู้มีบุคคลหรือคนสำคัญในหลากหลายบทบาทหลากหลาย รูปแบบที่ต่างคนต่างทำหน้าที่ในบทบาทของตนเองให้ดีที่สุดแต่ต้องมีการทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการทำงานที่ดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างสวยงามกลายเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ในที่สุด
อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา มีหน้าที่หลัก 4 ประการ คือ การจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิต การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหน้าที่หลักของอาจารย์มหาวิทยาลัยคือ ผู้ขับเคลื่อนหลักที่สำคัญในกระบวนการสร้างบัณฑิตให้มีคุณภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากำหนดและเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ดังนั้นผู้สอน ต้องสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีการวางแผนการจัด การเรียนการสอนและการวางกลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นผู้สอนจึงต้องเรียนรู้กลวิธีในการดึงความรู้ความสามารถของตนเองออกมาในการจัดการเรียนการสอน และมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทักษะในการจัดทำ มคอ. โดยเฉพาะการจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 5 ซึ่ง มคอ. 3 อันเป็นแนวทางการบริหารจัดการรายวิชา เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)